ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับมอนเตสซอรี่
การจัดการเรียนรู้แบบมอนเตสซอรี่ได้คิดค้นโดย แพทย์หญิง มาเรีย มอนเตสซอรี่ เป็นการจัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พ.ญ.มอนเตสซอรี่ใช้เวลาในการสังเกตและศึกษาการเรียนรู้ของเด็กตั้งแต่วัยแรกเกิดจนถึงวัยผู้ใหญ่ จึงคิดค้นแนวทางการศึกษานี้ขึ้นมาได้เป็นเวลามากกว่า ร้อยปีแล้ว
มอนเตสซอรี่เป็นการศึกษาที่มีจุดสนใจอยู่ที่ตัวเด็ก ที่มาจากความการเรียนรู้โดยธรรมชาติของมนุษย์โดยเฉพาะในตัวเด็กที่ว่า เด็กทุกคนมีศักยภาพในการเรียนรู้ และมีความต้องการเรียนรู้โดยธรรมชาติอยู่แล้วในตัวเอง เพียงแต่ต้องการความช่วยเหลือ สนับสนุน ที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อมของเด็กในการเรียนรู้ ซึ่งเป็นวิธีที่นำมาซึ่งการเห็นคุณค่าในตัวเอง และการพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ของตัวเด็กเอง
ห้องเรียนมอนเตสซอรี่มีประโยชน์ต่อเด็กอย่างไร?
ห้องเรียนมอนเตสซอรี่จัดขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้พัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ อย่างที่พวกเขาเองได้ก้าวย่างเข้ามาสู่โลกใบนี้ด้วยการเป็นส่วนหนึ่งด้วยความสามารถ ความรับผิดชอบในฐานะพลเมืองที่มีความเข้าใจและเห็นคุณค่าการเรียนรู้เพื่อชีวิต
เด็กทุกคนมีคุณค่าในตัวเอง
เด็กช่วยเหลือและพึ่งพาตัวเองได้
นักเรียนมอนเตสซอรี่จะได้รับการส่งเสริมการพัฒนาความเป็นระบบระเบียบ การประสานสัมพันธ์ระหว่างตนเองและชีวิตอื่น
ความตั้งใจจดจ่อ มีสมาธิ
เด็กๆได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดเป็นรายบุคคล ประกอบกับใส่ใจในสังคมที่ตนเรียนรู้
เด็กๆ มีอิสระในการเรียนรู้อย่างมีขอบเขต
เด็กๆ ได้รับการสนับสนุนให้เป็นผู้รักการแสวงหาความรู้
สามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ด้วยตนเอง และมีการประเมินอย่างเป็นองค์รวมด้วยกระบวนการมอนเตสซอรี่
บทบาทของครูในห้องเรียนมอนเตสซอรี่
ครูคือผู้จัดเตรียมสภาพแวดล้อมห้องเรียนเพื่อตอบสนองความต้องการในการพัฒนาของเด็กในแต่ละช่วงขณะ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านวิชาการและความต้องการของชีวิต ซึ่งครูจะช่วยเหลือการเรียนรู้โดยคำนึงถึงการพึ่งพาตนเองของเด็ก ในขณะที่ครูก็จะตระหนักถึงพัฒนาการของงานแต่ละชิ้นของเด็กนำไปสู่งานท้าทายเพื่อการเข้าถึงทักษะด้านต่างๆ ครูจึงเปรียบเสมือน พี่เลี้ยง, ต้นแบบ, ผู้แนะนำ
ครอบครัวมีบทบาทกับการศึกษาของมอนเตสซอรี่อย่างไร?
ผู้ที่มีบทบาทสำคัญกับการศึกษาของมอนเตสซอรี่ คือ :
ตัวเด็ก
ผู้ปกครอง
ครู
แต่ละบทบาทก็จะมีความสำคัญในตัวเองแต่ก็มีความสัมพันธ์ที่ส่งบทบาทต่อกันและกัน ครูเป็นผู้ส่งมอบเรื่องของสังคม ความเป็นสาธารณะ สิ่งที่อยู่ภายนอกครอบครัว ส่วนผู้ปกครองจะเป็นผู้บ่มเพาะลักษณะเฉพาะตนของเด็ก ความเป็นส่วนตัว ความใกล้ชิด และการศึกษาในรูปแบบเฉพาะ ส่วนเด็กจะเป็นผู้ที่ได้รับการศึกษาผ่านการสนับสนุนหรือส่งเสริมจากผู้ใหญ่ที่อยู่รอบข้างพวกเขา ผ่านการพูดคุยใช้ชีวิตระหว่างกัน เพราะฉะนั้นจึงเกิดการเรียนรู้ที่ผ่านการปลูกฝังให้กับเด็กโดยกระบวนการที่ผู้ใหญ่เป็นผู้กระทำผ่านเด็ก