ห้องเรียนโรงเรียนปิติศึกษา
โรงเรียนปิติศึกษาได้จัดโครงสร้างหลักสูตร เป็น 5 ระดับ ดังนี้
ระดับเตรียมอนุบาล (อายุ 2-3 ปี)
ระดับอนุบาล (อายุ 3-6 ปี)
ระดับประถมศึกษาตอนต้น (อายุ 6-9 ปี)
ระดับประถมศึกษาตอนปลาย (อายุ 9-12 ปี)
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (อายุ 12-15 ปี)
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (อายุ 15 - 18 ปี)
โรงเรียนปิติศึกษาใช้หลักสูตรบูรณาการไทย-มอนเตสซอรี่ โดยจัดหลักสูตรตามโครงสร้างของกระทรวงศึกษาธิการ ห้องเรียนแต่ละห้องได้มีการจัดกลุ่มอายุนักเรียนไว้ 3 ช่วงปี น้องๆ จะสังเกตและเรียนรู้จากพี่ และในเวลาเดียวกันพี่ไม่เพียงเป็นแบบอย่างที่ดีต่อน้องแต่ยังพัฒนาการเป็นผู้นำได้อีกด้วย โครงสร้างหลักสูตรมีความสมดุลในทุกๆ ด้าน การเรียนการสอนจึงเป็นแบบรายบุคคลหรือกลุ่มเล็กๆ ในห้องเรียนทีมีสภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์ มีครูเป็นผู้ชี้แนะและช่วยเหลือ ด้วยตารางเวลาเรียนที่ไม่จำกัดช่วยให้เด็กได้เรียนรู้อย่างลึกซึ้ง ช่วยพัฒนาความสนใจ การเรียนรู้ของเด็กและส่งเสริมความรักในการแสวงหาความรู้ในตัวเอง
ระดับเตรียมอนุบาล (อายุ 2 – 3 ปี)
ห้องเรียนเตรียมอนุบาลจะถูกจัดเตรียมสภาพแวดล้อมอย่างเหมาะสมเพื่อที่จะช่วยเหลือเด็กในการบรรลุถึงความเป็นอิสระ กิจกรรมการเรียนรู้เปิดโอกาสให้เด็กพัฒนาการทำงานที่ประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อและประสาทสัมผัส และแยกแยะในสิ่งที่ได้รับรู้ผ่านประสาทสัมผัส และการเรียนรู้ในสื่อการเรียน หลักสูตรนี้เป็นการเตรียมเด็กให้ก้าวหน้าเพื่อที่จะเข้าสู่ชั้นอนุบาลโดยมีกิจกรรมตามหลักสูตรคือ
ทักษะประสาทสัมผัส
ทักษะชีวิต
ทักษะด้านภาษา
ระดับอนุบาล (อายุ 3-6 ปี)
เด็กในระดับชั้นอนุบาลจะได้เรียนรู้ทักษะด้านต่างๆ ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5และซึมซับสิ่งต่างๆ จากประสบการณ์ของตนเอง การจัดสภาพแวดล้อม อย่างเป็นระเบียบ เรียงลำดับเป็นขั้นตอนชัดเจน เป็นสิ่งสำคัญ กิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักสูตรได้แก่
กลุ่มทักษะชีวิตประจำวัน เด็กๆ ได้เรียนรู้ที่จะดูแลตัวเอง ดูแลสิ่งแวดล้อม ด้วยการลงมือปฏิบัติ
กลุ่มประสาทสัมผัส กิจกรรมในกลุ่มนี้จะช่วยให้เด็กได้ค้นพบสิ่งต่างๆ รอบตัวผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5
กลุ่มคณิตศาสตร์ เด็กๆ เรียนรู้ ที่จะจำแนก 0-9 ได้ ผ่านการใช้ตัวเลขกระดาษทรายหลังจากเด็กๆ มีความเชี่ยวชาญด้านการบวกและการลบ แล้วครูจึงจะแนะนำการคูณและหาร ขึ้นอยู่กับความต้องการและศักยภาพของเด็กแต่ละคน
กลุ่มภาษา เด็กๆ ได้เรียนพยัญชนะต่างๆ ผ่านอักษรกระดาษทรายทั้งภาษาไทยและอังกฤษ หลังจากนั้นเด็กจะเรียนรู้ที่จะผสมเสียงต่างของตัวอักษรเป็นคำๆ หากเด็กคนไหนต้องการเขียนแต่กล้ามเนื้อมือยังไม่พร้อม ก็สามารถใช้อักษรเคลื่อนที่แทนการเขียนได้
กลุ่มประสบการณ์ชีวิต เด็กๆ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับโลก วัฒนธรรมต่างๆ สัตว์ บุคคล สถานที่ ดนตรี ศิลปะ และวิทยาศาสตร์
ระดับประถม (อายุ 6-12 ปี)
ส่วนประกอบหลัก 3 ประการในหลักสูตรระดับชั้นประถมศึกษาคือ
การเรียนรู้วิชาหลัก - เด็กๆ จะได้เรียนรู้ขอบเขตของวิชาหลักๆ เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ศิลปะ ดนตรี พลศึกษา ลูกเสือ สังคม ศาสนาและวัฒนธรรม เด็กๆ ยังได้ความรู้ตามการเรียนการสอนของระบบทั่วๆ ไป เช่น ทักษะทางคณิตศาสตร์ การสะกดคำ การผสมคำ เรียนรู้ศัพท์ การเรียงประโยค การเขียนเชิงสร้างสรรค์ และทักษะการค้นคว้าในห้องสมุด
บทเรียนและกิจกรรมที่สร้างแรงบันดาลใจ - การจัดกิจกรรมนี้เป็นการนำเสนอและสร้างแรงบันดาลใจในการชื่นชม การมีเมตตากรุณา การมีจิตใจที่ดีงาม มีความสนใจใคร่รู้ ซึ่งจะกระตุ้นให้เด็กได้ค้นคว้าเพื่อหาความรู้ กิจกรรมเหล่านี้รวมไปถึงการเล่านิทาน ทัศนศึกษา โครงงาน กิจกรรมที่สะท้อนสังคมและวัฒนธรรม และกิจกรรมเกี่ยวกับสันติภาพของโลก โครงงานที่ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการทำงานทั้งระบบ ตั้งแต่วางแผน ดำเนินการ ประเมินผลและนำผลมาปรับปรุง
ความสนใจส่วนตัว - เด็กๆ มีโอกาสที่จะสำรวจและค้นคว้าในสิ่งที่เขามีความสนใจโดยมีครูประจำชั้นเป็นผู้เอื้อกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นกัลยาณมิตร เพื่อให้เด็กเกิดฉันทะในการรักการเรียนรู้ที่นำพาความสนใจใคร่รู่นั้น ไปสู่ความมีอิสระในการเปิดโลกแห่งการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (อายุ 12-15ปี)
โปรแกรมระดับมัธยมต้นของโรงเรียนปิติศึกษา มีแผนการเรียนรู้ที่จะสร้างเสริมนักเรียนของเราให้สามารถต่อยอดความรู้ที่พวกเขาเรียนรู้ในห้องเรียนและนำไปใช้ได้ในสถานการณ์จริง นักเรียนของเราจะได้รับการฝึกทักษะในการเสริมสร้างชีวิต เช่น การสร้างระเบียบทางสังคม การดูแลรักษาพื้นที่ที่ใช้ร่วมกัน และความรับผิดชอบในการจัดการตนเองและการบริหารเวลา ที่จะสามารถช่วยให้พวกเขาเติบโตเป็นคนรุ่นใหม่ที่เป็นสมาชิกของสังคมอย่างเต็มที่ โปรแกรมนี้เปิดโอกาสให้นักเรียนได้จัด 'การสัมมนากลุ่ม' เพื่อหารือเกี่ยวกับประเด็นสำคัญทางวัฒนธรรม เช่น หนังสือ สารคดี การเคลื่อนไหวทางการเมืองหรือเหตุการณ์สำคัญต่างๆ การสัมมนาเหล่านี้ช่วยให้นักเรียนของเราสามารถพัฒนาทักษะที่สำคัญ เช่น การคิดเชิงวิพากษ์ ความมั่นใจในตนเอง และการโต้วาที
คุณลักษณะสำคัญของโปรแกรมระดับมัธยมศึกษาตอนต้นคือกิจกรรม "การผลิตและการแลกเปลี่ยน" ที่ส่งเสริมให้นักเรียนของเราทำตามความสนใจของตนเองในการผลิตสินค้าต่างๆ เช่น อาหาร งานฝีมือที่สามารถขายในโรงเรียนและที่อื่นๆได้ภายในชุมชนท้องถิ่น
กิจกรรมเหล่านี้จะช่วยให้นักเรียนพัฒนาลักษณะสำคัญ เช่น อัตลักษณ์และความนับถือตนเอง ซึ่งมีความสำคัญสำหรับพวกเขาในการทำความเข้าใจบทบาทที่มีความหมายที่พวกเขาสามารถเป็นได้ในสังคม
หลักสูตรการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นของเรามีแนวคิดหลักสามประการที่นำเสนอวิธีการแบบมีโครงสร้างเพื่อการเรียนรู้ที่ช่วยให้นักเรียนของเราพัฒนาเป็นบุคคลที่สามารถมีส่วนสำคัญในการปรับปรุงชุมชนในวงกว้าง
การแสดงออกถึงตัวตนทำให้นักเรียนของเราสามารถสื่อสารสิ่งที่พวกเขายังไม่ชัดเจน เช่น ความวิตกกังวลหรือความปรารถนา และเชื่อมโยงกับมนุษย์คนอื่นๆ การแสดงออกถึงตัวตนที่จะพัฒนาอัตลักษณ์ที่นำไปสู่การตระหนักรู้ในตนเองและการเอาใจใส่ผู้อื่น
การสร้างพลังจิตอาศัยแนวโน้มของมนุษย์ในการสั่งการ สื่อสาร นามธรรม – แนวโน้ม เรียนรู้ผ่านวิชาต่างๆ เช่น ภาษาศิลป์ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์และความเชื่อมโยงระหว่างผู้คน ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนจัดระเบียบและพัฒนาบุคลิกภาพ เสริมสร้างความเข้มแข็งทางอารมณ์และจิตใจ
การเตรียมตัวสำหรับชีวิตในวัยผู้ใหญ่เป็นการเชิญชวนให้วัยรุ่นเข้าสู่เรื่องราวของมนุษย์ในขณะที่นำเสนอวัฒนธรรมของมนุษย์ส่วนรวม ผ่านวิชาต่าง ๆ เช่น ประวัติศาสตร์โลก ภูมิศาสตร์ และศิลปะ นักเรียนของเราจะได้รับโอกาสในการเห็นการเชื่อมโยงระหว่างผู้คนทั้งหมดในขณะที่มนุษยชาติได้พัฒนาในสถานที่และเวลาที่แตกต่างกัน
วิธีการเรียนการสอน
โรงเรียนปิติศึกษาได้ตระหนักและเคารพในความแตกต่างของเด็กแต่ละคน การเรียนการสอนจึงถูกปรับให้สอดคล้องกับความต้องการของเด็กแต่ละคน เด็กได้รับการดูแลจากครูเป็นรายบุคคล ในเวลาเดียวกัน กิจกรรมกลุ่มก็เป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่มีจัดขึ้นในหลักสูตรพัฒนาทักษะทางด้านสังคมของเด็ก เด็กเรียนรู้จากรูปธรรมสู่นามธรรมผ่านการใช้อุปกรณ์ของมอนเทสซอรี่ เด็กได้รับโอกาสและความต้องการที่จะฝึกฝนซ้ำ ๆ จนกระทั่งเกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้ง แรงบันดาลใจที่เกิดขึ้นจากภายในและความภาคภูมิใจจากความสำเร็จจึงเป็นรางวัลที่มีค่าสูงสุดสำหรับเด็กๆ โรงเรียนปิติศึกษาจึงไม่สนับสนุนการให้รางวัล การลงโทษ และการแข่งขัน
การประเมิน
โรงเรียนปิติศึกษาจะประเมินเด็กตามสภาพจริง ผู้ปกครองสามารถประเมินบุตรหลานของท่านได้หลายวิธี เช่น การเข้ามาสังเกตการณ์การเรียนการสอน การพบครูตามการนัดหมาย การเข้าอบรมเชิงปฏิบัติการของโรงเรียน และการมารับทราบผลการเรียนการสอนของเด็กในแต่ละภาคการศึกษา ในทุก ๆ ภาคการศึกษาครูจะเขียนสมุดรายงานผลการเรียนเกี่ยวกับการเรียนและการพัฒนาของเด็กให้กับผู้ปกครองได้รับทราบพัฒนาการของเด็กๆ อีกทั้งการพบครูประจำชั้นตามตารางนัดหมายเพื่อรับฟังข้อพัฒนา ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ การพัฒนาในด้านต่างๆ ของเด็ก เพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือระหว่างโรงเรียนและผู้ปกครองในการสนับสนุนและส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในแต่ละด้าน